Rigor Mortis

สภาพแข็งทื่อหลังตายสภาพศพแข็งทื่อ[1] (อังกฤษRigor Mortis) หรือการแข็งตัวของกล้ามเนื้อหลังตายเป็นการเปลี่ยนแปลงหลังการตายตามธรรมชาติอย่างหนึ่งของร่างกายมนุษย์ เกิดจากสภาพแข็งทื่อหลังตายในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายภายหลังการตาย ซึ่งทางการแพทย์มีความเชื่อว่าสภาพแข็งทื่อหลังตายหลังการตายนั้น มีสาเหตุมาจากการที่สารให้พลังงานในเซลล์ชื่อว่า เอทีพี หรือ อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (อังกฤษAdenosine triphosphate) ที่มีอยู่ในมัดกล้ามเนื้อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เกิดการสลายตัวไป เอทีพีที่เกิดขึ้นจากการสันดาปอาหารในเซลล์ของกล้ามเนื้อ โดยใช้ออกซิเจนเป็นตัวช่วย เพื่อทำให้กล้ามเนื้อสามารถทำงานได้เป็นปกติ

การเกิดสภาพแข็งทื่อหลังตาย

เมื่อตาย ATP ที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อภายในร่างกายจะค่อย ๆ เริ่มหมดไป สารแอกตินกับไมโอซินที่มีอยู่เฉพาะในเซลล์กล้ามเนื้อ จะจับตัวกับกล้ามเนื้อและจะเริ่มต้นแข็งตัวอย่างช้า ๆ ทำให้บริเวณกล้ามเนื้อที่ปราศจาก ATP เกิดสภาพแข็งทื่อหลังตาย ส่งผลให้สภาพศพมีการเกร็งของแขนและขา ถ้ากล้ามเนื้อภายในร่างกายถูกใช้อย่างงานหนักก่อนตาย กล้ามเนื้อในบริเวณส่วนนั้นจะเริ่มแข็งตัวอย่างรวดเร็ว ลักษณะของกล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานหนักก่อนตายเช่น การออกกำลังกายอย่างรุนแรง การออกกำลังอย่างหักโหม ก็มีส่วนอาจทำให้ร่างกายเกิดการช็อกอย่างกะทันหันและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
การชักหรือมีไข้สูงในเด็กเล็ก ก็อาจมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ และทำให้ ATP ภายในกล้ามเนื้อมัดนั้นหมดไป ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการแข็งตัวทันทีหลังการตาย เรียกว่า คาดาเวอริคสปัสซั่ม (อังกฤษCadaveric Spasm) เช่นในรายที่จมน้ำตายหรือเป็นตะคริว สภาพแข็งทื่อหลังตายก็มักเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ผู้ตายพยายามดิ้นรนตะเกียกตะกายที่จะเอาตัวรอดอย่างมากก่อนตาย เมื่อแพทย์ทำการผ่าศพทางนิติเวชศาสตร์จะพบว่า ในร่างกายของผู้ตายมีคาดาเวอริคสปัสซั่มที่มือเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นการพยายามไขว่คว้าหาสิ่งต่าง ๆ เพื่อฉุดตัวเองขึ้นจากน้ำ[3]

ระยะเวลาการเกิด

โดยปกติระยะเวลาการเกิดสภาพแข็งทื่อหลังตายจะเริ่มเกิดประมาณ 1-2 ชั่วโมงหลังตาย และเกิดการแข็งตัวเต็มทั่วร่างกายประมาณ 6-12 ชั่วโมง ก่อนที่จะเริ่มมีการอ่อนตัวลงอีกครั้งพร้อมกับการเน่าเปื่อยของร่างกาย กล้ามเนื้อภายในร่างกายจะเริ่มแข็งตัวพร้อมกันทุกมัด แต่กล้ามเนื้อบริเวณมัดเล็ก ๆ เช่น บริเวณข้อเล็ก ๆ เช่นข้อนิ้วมือ กราม และคอจะปรากฏให้ตรวจพบได้อย่างชัดเจนและรวดเร็วกว่ากล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็กที่พบก่อนมักจะเป็นกล้ามเนื้อมัดเล็กที่ใช้ในการเคี้ยวอาหาร เพราะฉะนั้นเมื่อทำการชันสูตรพลิกศพจะพบว่าขากรรไกรมีการแข็ง กดไม่ลงก่อนกล้ามเนื้อมัดอื่น ๆ จากนั้นจะพบที่บริเวณนิ้วมือ แขน ขาแล้วจึงถึงบริเวณลำตัว
ถ้าสภาพแข็งทื่อหลังตายถูกทำลายไปเช่น ศพถูกจับดึงแขนที่งอพับแข็งเกร็งออก สภาพของแขนที่ถูกดึงออกมา ก็จะใม่ปรากฏสภาพแข็งทื่อหลังตายอีกต่อไป เพราะสภาพแข็งทื่อหลังตาย มีระยะเวลาแปรเปลี่ยนไปตามลักษณะและสภาพของร่างกายทั้งก่อนและหลังตาย ซึ่งระยะเวลาของสภาพแข็งทื่อหลังตายจะเริ่มต้นที่ระยะเวลาประมาณ 1–2 ชั่วโมง ก่อนจะปรากฏเต็มที่ประมาณ 6-12 ชั่วโมง และสลายไปภายหลังระยะเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง เมื่อสภาพแข็งทื่อหลังตายสลายไปหมด สภาพของศพก็จะกลับมาอ่อนตัวเช่นเดิม

ประโยชน์ของสภาพแข็งทื่อหลังตาย

สภาพแข็งทื่อหลังตาย สามารถนำใช้ประโยชน์ในการสืบสวนเกี่ยวกับกรณีศพที่ถูกเคลื่อนย้ายไปมาได้ เช่น กรณีที่พบศพตายในท่านั่งบนเก้าอี้ เมื่อระยะเวลาผ่านไปประมาณ 4-5 ชั่วโมง สภาพศพก็จะเกิดสภาพแข็งทื่อหลังตาย ทำให้ร่างกายแข็งตัวอยู่ในท่านั่ง ถ้ามีผู้อื่นมาเคลื่อนย้ายศพให้อยู่ในท่านอน แขนขาของศพก็จะคงยกแข็งค้างเสมือนยังอยู่ในท่านั่งนั้น จนกว่าสภาพแข็งทื่อหลังตายจะถูกทำลายไป กล้ามเนื้อของเส้นขนที่ดึงให้ขนตั้งในขณะที่กลัวหรือเสียวนั้น ก็จะแข็งตัวด้วยหลังตายจึงสามารถเห็นศพมีการ "ขนลุก" ภายหลังการตายได้ และกล้ามเนื้อของถุงเก็บน้ำอสุจิ (อังกฤษSeminal Vesicle) ก็จะแข็งตัวและบีบเอาน้ำอสุจิออกมาภายหลังตายด้วย ดังนั้นการชันสูตรพลิกศพหากพบว่าศพมีน้ำอสุจิออกมา ก็ไม่จำเป็นว่ามีการร่วมเพศก่อนตายแต่อย่างใด

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1.  ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน ปรับปรุงเมื่อ 6 ส.ค. 2544
  2.  การแข็งตัวของกล้ามเนื้อ, พลตำรวจตรี เลี้ยง หุยประเสริฐ พบ., อว. (นิติเวชศาสตร์) ผู้บังคับการ สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ, 2549, หน้า 28
  3.  ระยะเวลาในการเกิดการแข็งตัวของกล้ามเนื้อ, พลตำรวจตรี เลี้ยง หุยประเสริฐ พบ., อว. (นิติเวชศาสตร์) ผู้บังคับการ สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ, 2549, หน้า 29
Share:

0 comments:

Post a Comment

Definition List

Unordered List

Support

If you’ve browsed through my blog, or used the search bar on the top right corner to look for answers, but still need help, just send your feedback or enquiry through the contact session